คู่มือการเลือก Loupes
เมื่อเราซื้อ Loupe เราควรพิจารณาปัจจัยสำคัญหลายประการ เช่น รูปแบบการติด Loupe, กำลังขยาย, ขนาดฟิลด์, มุมเอียง, การออกแบบกรอบ, ตัวเลือกแผ่นรองจมูก และค่าบำรุงรักษา ปัจจัยเหล่านี้ประเมินโดยพิจารณาจากระยะในการทำงาน (working distance) ท่าทางการทำงาน (การนั่งหรือยืน) และลักษณะใบหน้า เช่น รูปทรงจมูก
การเลือกรูปแบบ Loupe
Loupe มีอยู่ 2 รูปแบบ FLM (front-lens-mounted และ Loupes TTL (through-the-lens) ที่ custom ได้เอง (ภาพที่ 1)
1. หากคุณไม่ทราบมุมเอียงที่ต้องการสำหรับท่าทางการทำงานของคุณ คุณอาจเลือกรูปแบบ FLM ซึ่งช่วยให้คุณลองใช้มุมเอียงแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ท่าที่ดีที่สุดสำหรับต้นคอ
2. หากคุณทราบมุมเอียงที่ต้องการ คุณอาจเลือกรูปแบบ TTL ได้ แต่ถ้าจมูกของคุณมีลักษณะแบน แบบ FLM อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการหลีกเลี่ยงการเกิดฝ้าและลดโอกาสที่ Loupe จะไปโดนตาของคุณ
3. หากคุณมีอาการปวดคอเรื้อรัง คุณอาจเลือก Loupe แบบ FLM เพื่อที่จะค่อยๆ ปรับมุมเอียงให้เหมาะกับคุณ
การเลือก Loupes ตัวแรกของคุณ
ความละเอียดที่ตามองเห็นจะลดลงเมื่อระยะการทำงานเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 2) และทำให้ต้องการกำลังขยายที่เพิ่มขึ้นเมื่อระยะการทำงานเพิ่มขึ้น กำลังขยายที่ต้องการสำหรับ Loupe จะขึ้นอยู่กับระยะการทำงานของคุณ (working distance)
- หากระยะการทำงานน้อยกว่า 15 นิ้ว กำลังขยายที่เหมาะสมคือ 2.5x
- หากระยะการทำงานประมาณ 16 นิ้ว ถึง 18 นิ้ว สามารถเลือก 3.0x หรือ 3.5x ก็ได้
- หากระยะการทำงานมากกว่า 19 ควรเลือก กำลังขยายมากกว่า 3.5x
คณะทันตฯ หลายแห่งแนะนำ Loupe ขนาด 2.5x เป็น Loupe ตัวเริ่มต้นให้กับนักศึกษา เนื่องจากระยะการทำงานปกติของงานทันตกรรมในอดีตอยู่ที่ประมาณ 14 นิ้ว แต่เลนส์ขยาย 2.5x นั้นไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษาที่มีระยะการทำงานที่ไกล
Field of View และการเลือกเลนส์ Loupe
เลนส์ Loupe มีสองประเภท: Galilean loupes และ Keplerian (มักเรียกว่า Prism) หากคุณต้องการมุมมองภาพที่กว้างกว่าด้วยเลนส์ขยายกำลังสูง คุณควรเลือกเลนส์แบบ Prism ซึ่งมี Field of view ที่กว้างกว่าแบบ Galilean
มุมเอียงหรือมุมก้มเพื่อความปลอดภัยของต้นคอ
มุมเอียงแค่เล็กน้อยก็อาจจะบังคับให้แพทย์ก้มศีรษะมากเกินไป และอาจทำให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรังอันเป็นผลมาจากการใช้ Loupe ที่ไม่เข้ากับสรีระเป็นระยะเวลานาน มุมเอียงหรือมุมก้มของศีรษะที่ปลอดภัยคือมุมที่น้อยกว่า 20 องศา¹
คำเตือน: Loupe ที่ไม่เหมาะกับท่าทางการทำงานแต่มันเหมาะกับพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การก้มศีรษะลงไปด้านล่างเพื่อมองแทนที่จะใช้เพียงแค่สายตามองลงด้านล่างแทน ตอนนี้แพทย์รุ่นใหม่ๆอาจจะยังไม่รู้สึกปวดต้นคอในทันทีหรอก แต่หากคุณต้องการปกป้องคอของคุณในอนาคต คุณควรพิจารณา Loupe ของคุณใหม่ได้แล้ว
เพื่อให้แน่ใจว่า Loupe คุณได้รับการออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ คุณควรวัดมุมเอียงศีรษะของคุณ โดยใช้ภาพถ่ายมุมมองแบบ 2 ภาพ ด้านล่าง คุณจะประมาณมุมเอียงศีรษะได้² หากมุมเอียงศีรษะของคุณมากกว่า 20 องศา คุณควรขอให้ผู้ผลิต Loupe ของคุณทำ Loupe ใหม่เพื่อให้มุมเอียงศีรษะของคุณอยู่ต่ำกว่า 20 องศา หากไม่สามารถทำ Loupe ตามหลักสรีรศาสตร์ได้ คุณควรดู Loupe ตัวใหม่ได้แล้ว
ค่าบำรุงรักษา
ค่าบำรุงรักษา Loupe เช่นการอัปเดตค่าสายตา (Rx) และระยะการทำงานที่อาจเพิ่มขึ้นได้ของดวงตาเนื่องจากอายุที่มากขึ้น พลังสายตาลดลง ทำให้ผู้ที่มีอายุต้องใช้ reading glasses ในการอ่านหนังสือ เมื่อเราเริ่มใช้แว่นอ่านหนังสือ ค่า Rx ในการอ่านจะเปลี่ยนแปลงบ่อยเมื่อเวลาผ่านไป และเราต้องอัปเดตค่า Rx อยู่เสมอ
ค่าบำรุงรักษา Loupe แบบ FLM นั้นต่ำที่สุด เนื่องจากร้านแว่นตาทุกแห่งสามารถอัปเดตค่า RX ของเลนส์แว่นเราได้ แต่ค่าบำรุงรักษาเลนส์ TTL มีราคาแพงมาก เนื่องจากการอัพเดท Rx ของเลนส์นั้นเท่ากับการประกอบใหม่เลย
แม้ว่าคุณจะอัปเดตแค่ค่า Rx ของเลนส์ภายในตัว Loupe ของคุณเท่านั้น แต่การอัปเดต Rx ครั้งนี้อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ เนื่องจาก Loupe ของคุณต้องถูกส่งกลับไปยังผู้ผลิตเพื่อทำการอัปเดตให้เท่านั้น คุณต้องมี Loupes สำรองเพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะทำงานได้ดีเหมือนปกติโดยไม่มี Loupe
References
- Valachi, Bethany. Practice Dentistry Pain-Free. Portland, Oregon: Posturedontics Press, 2008. https://posturedontics.com/
- Chang, BJ, The Truth about Declination Angle, ErgoPractice News, June 2020
- Chang, BJ, The hidden cost of Non-ergonomic Loupes and Cool/Blue-Tinted LED Headlights, ErgoPractice News, March 2021
ที่มา: https://bit.ly/3rjIJUS