TheraCem: Self-adhesive resin cement
1. Adhesive Resin Cement
งาน eMax, Cercon เป็น Tooth colored จำเป็นต้อง fixed ด้วย adhesive resin cement หรือ งาน PFM, FMC ที่ retaintive form ไม่ดี ก็ต้องใช้ รวมทั้งการปัก prefabricated fiber post
ซึ่งต้องมีองค์ประกอบคือ
– Etching (H3PO4) >> bonding (ส่วนมาก 2 ขวด ยกเว้น ของ Bisco/ขวดเดียว) >> resin cement (DC) ถือว่าดีสุด ให้แรงยึดมากสุด แต่พลาดง่ายสุด ทำได้ไม่ดีนัก หลัง fix จะเกิดอาการเสียวฟัน และทำให้ฟันตายได้ค่อนข้างง่าย
2. กลุ่ม Cem family คือ อะไร?
มันคือ Self Etch (DC/dual cure) หรือ RMGIC w/ self-etch monomer ไม่ต้องมีการใช้ etching / bonding เพราะกลุ่มนี้ใช้ acidic monomer (self etch) ผสมใน resin cement เข้าไปเลย ซึ่งให้แรงยึดต่อ Dentin ที่สูงมาก
Preparation: ทำออกมาเป็น paste/paste cement ที่ผสมแล้ว ใส่ใน indirect restorations ทุกประเภท แล้ว fix ได้เลย ฉายแสง >> remove excess เสร็จงาน
สามารถมีแรงยึด(bond) กับตัวฟัน ที่สูงมากเหมือนกัน (เฉพาะฝั่ง dentin)
ส่วนประกอบเคมี
- Dual cured – แสดงต้องมี initiator system 2 แบบ คือ light cure ( 3°amine + CQ) + self cure (3°amine + benzoyle peroxide)
- GI – glass ionomer filler – release fluoride >> กันฟันผุ
- Resin monomer
ตัวอย่างเช่น: Unicorn (3M), MaxCem (Kerr), BisCem (Bisco) ทั้งหมด ถือเป็น generation ที่ 1
วิธีการใช้งาน:
– ผสมเสร็จด้วย dual syringe ฉีดเข้าใน crown แล้ว fix ได้ทันที
– Seat restoration >> ฉายแสง >> remove excess >> hold ไว้อย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อให้ mode self-cure ภายใน crown ทำงาน complete (ขั้นตอนดังกล่าวต้องใช้เวลาชั่วครู่ เพราะแสงนั้นไม่ได้ผ่านเข้าถึงด้านในง่ายๆ โดยเฉพาะถ้าเป็น Metal framework – ควรต้องทิ้งเวลาให้ mode self-cure ทำงานเสริมด้วย
3. กลุ่ม Cem family – 1st generation มีปัญหา จนทำให้ต้องเลิกใช้
มันไม่ได้ดีจริงหรือ เพราะอะไร? …
3.1 เรื่องปกติ… ที่การ polymerization จาก monomer >> polymer ไม่เคย polymerization กันอย่าง complete เต็ม 100% จะถูก convert เป็น polymer กี่% (เรียก DOC – degree of conversion) ส่วนที่เหลือ unpolymerized monomer (แต่มีฤทธิ์เป็นกรด /acidic) ที่ค้างเหลือเหล่านี้ ส่งผลให้มีอาการเสียวฟันได้ และความเป็นกรดที่หลงเหลือนั้น มันทำให้ bacteria เจริญเติบโตได้ >> ผุต่อ แม้ว่าจะปล่อย fluoride เข้าไปก็เอาไม่อยู่
3.2 ทันตแพทย์บางส่วนยังใช้ไม่ถูกวิธี กล่าวคือ วัสดุตระกูล Cem family ทุกตัว แม้เป็น DC แต่ใช่ว่าฉายแสงแล้วมันจะ set เลย เพราะต้อง hold ไว้ อย่างน้อย 5-10 นาที จึงจะ set ระดับแข็งแรง มิฉะนั้นจะหลุดได้ง่าย
เพราะประสิทธิภาพของ photo-initiator system ยังไม่ดีนัก และบางทีเวลา seat ชิ้นงาน ไม่นานพอ กลับพบว่าหลุดง่าย
(แสงส่องเข้าใต้ฟันปลอมไม่ได้ ต้องอาศัย chain reaction ของ self-cure mode)
4. TheraCem คือ อะไร?
เป็นภาคหนึ่งของ MTA ที่เอาเข้ามาผสมในตระกูล Cem – family จึงเป็นที่มาของ TheraCem โดยเพิ่ม
- Acidic monomer ที่ใช้ ดีที่สุดในโลก คือMDP ทำให้มีฤทธิ์ chemically bond to dentin, cercon, alumina, metals เพิ่มไปอีก คือ สามารถ Bond ได้ทั้ง 2 ฝั่ง
- ใส่ glass ionomer filler – release fluoride ป้องกันฟันผุ แล้วเพิ่มใส่ MTA filler เข้าไป ซึ่งได้ประโยชน์มากขึ้นอย่างมหาศาล เพราะมันจะ release CA+2, OH- อย่างมากมายในทันที มันจะไปทำ neutralise ความเป็นกรดของ MDP >> ทำให้ไม่เสียว
– OH- >> ฆ่าเชื้อโรค ป้องกันฝันผุ เสริมสร้าง reparative dentin ของ pulp
– Ca+2 >> ให้เกิดการเสริมสร้าง Calcium hydroxyapatite >> เนื้อฟันโดยรอบแข็งแรงขึ้น
- ที่สำคัญ จุดเด่นที่ทำให้ TheraCem ใช้งานง่าย คือ Bisco เสริมประสิทธิภาพของ initiator system ให้มันมีการ set ตัวเร็ว สมบูรณ์มากขึ้น (ความลับ ไม่บอกใคร)
…. เป็นอย่างไรบ้างครับ? มันยอดเยี่ยมแค่ไหน
ดังนั้น ต่อไปจากนี้จะเป็นศักราช ของ Cem-family + MTA แล้วนะครับ พวก Conventional Cement :- polycarboxylate cement, self-cure glass ionomer cement, zinc phosphate cement รวมทั้ง RMGIC – หมดประโยชน์ลงแล้ว คุณหมออาจจะเลิกใช้ไปได้เลย
ส่วน adhesive resin cement แม้ว่าแรงยึดดีกว่า (ในส่วน enamel) แต่ทำงานยากกว่า ปัญหามากกว่า >> ส่วนใหญ่เอาไว้ใช้กับฟันที่ไม่มี retentive form ก็พอ หรือ ฟันตาย และใช้ Fix inlay/onlay, veneer (มี enamel เหลือเยอะ)
Cem Family รุ่นใหม่ (gen 2) จึงยากที่จะหาคู่ต่อกรกับ TheraCem
ทำไม? … เป็นอีกความลับของ Bisco ที่เจ้าอื่นทำไม่ได้ คือ การทำให้ส่วนผสมของกรด (MDP) และด่าง (MTA) อยู่ร่วมกันได้ โดยไม่เสียคุณสมบัติ สามารถทำงาน เป็นขั้นตอนแยกจากกัน อีกทั้ง amine (ด่าง) ที่อยู่ใน initiator system ก็ทำงานได้
(ที่ Cem Family อันเก่าเจอปัญหาไม่ set จริง)
Bisco, USA … เจ้าของคือ นักเคมีที่เก่งทางด้าน Adhesive Technology ที่สุดในโลก
(เป็นชาวเกาหลีแต่อาศัยอยู่ใน USA.)