พูดคุยกับคนไข้ของคุณเกี่ยวกับการฟอกสีฟันด้วยแสง (Light Whitening) และแบบไม่ใช้แสง (Chemical Whitening)

คนไข้ของคุณเห็นสิ่งเหล่านี้ผ่านทาง Social Media, Blog ความงามต่างๆ หรือแม้กระทั่ง Influencer ที่พวกเขาติดตามอยู่ จึงไม่น่าแปลกใจที่พวกเขารู้สึกต้องการอยากจะการฟอกสีฟันกับผลิตภัณฑ์ชนิดที่ใช้แสงหรือเลเซอร์ตามแบบที่พวกเขารับรู้มา! ดังนั้นคุณจะให้ความรู้กับพวกเขาได้อย่างไร เกี่ยวกับความเป็นจริงที่อยู่เบื้องหลังกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันด้วยแสงเหล่านั้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้แสง วัตถุประสงค์ของบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องนี้

เราได้พูดคุยกับผู้จัดการด้านเทคนิคของ Ultradent เกี่ยวกับสูตรการฟอกสีฟัน
คุณปีเตอร์ ออลเรด เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีที่ทันตแพทย์จะสามารถพูดคุยและให้ความรู้แก่คนไข้ของเขาเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียและลูกเล่นในเรื่องของแสง / เลเซอร์ที่ใช้ในระบบฟอกสีฟันบางระบบ

Peter Allred ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่าย Formulation Technology
Peter Allred ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่าย Formulation Technology

“สิ่งแรกและสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้คนไข้ของคุณเข้าใจคือหลักฐานเป็นโหลๆจากการทดลองทางคลินิกอิสระที่แสดงให้เห็นว่าการฟอกสีฟันโดยใช้แสงหรือเลเซอร์จะไม่ช่วยเพิ่มผลการฟอกสีฟันเมื่อเทียบกับระบบฟอกสีฟันที่มีคุณภาพซึ่งไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมราคาแพง ไม่เพิ่มเวลาและความซับซ้อนของการรักษา
และนี่เป็นกลวิธีทางการตลาด คนไข้ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับแนวคิดของการฟอกสีฟันที่ใช้แสงเมื่อหลายปีก่อนในรายการอย่าง Extreme Makeover และเมื่อสิ่งนี้ได้แพร่หลายออกไปมันก็เข้าไปตราตึงอยู่ในใจของคนไข้ทันที แสงจะสร้างผลลัพธ์ที่ขาวขึ้นชั่วคราวและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในทางลบอื่น ๆ รวมถึงแผลไหม้ในช่องปากและการกระตุ้นเนื้อเยื่อในโพรงฟัน” ปีเตอร์กล่าว

มันมีผลเสียต่อเนื้อเยื่อในช่องปากอย่างไร? การค้นคว้าเช่นเดียวกับทีมแพทย์ที่นำโดย Dr. Ellen Bruzell จาก Nordic Institute of Dental Materials สรุปได้ว่า ไม่เพียงแต่การฟอกสีฟันด้วยแสงจะทำให้เห็นว่ามันไม่ได้ส่งผลดีในระยะยาวอย่างเดียว  “การสัมผัสกับแสง UV นั้นทำให้เกิดร่องสัมผัสที่มากขึ้นซึ่งทำให้ผิวเคลือบฟันของฟันมีความเสี่ยงต่อการ stress และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ได้รับความเสียหายด้วย” และกล่าวเสริมว่า “การใช้แสง UV ในการฟอกสีฟันทำให้คนไข้มีความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีในระดับสูงในบริเวณที่บอบบาง เหงือกมีเลือดออก อาการไหม้แดด และเหงือกที่ถูกเบิร์นอย่างรุนแรงเป็นหนึ่งในข้อร้องเรียนส่วนใหญ่ โดยไม่ต้องพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะเป็นต้อกระจก, มะเร็งและโรคอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต”

แสงยูวีมีแนวโน้มที่จะทำให้ฟันขาดน้ำเพิ่มความไวต่อความรู้สึกและนำไปสู่การคืนตัวของสีหลังจากที่ฟันมีน้ำ
แสงยูวีมีแนวโน้มที่จะทำให้ฟันขาดน้ำเพิ่มความไวต่อความรู้สึกของการเสียวฟันและนำไปสู่การคืนตัวของสีหลังจากที่ฟันมีน้ำ

ประการที่สอง Allred กล่าวเสริมว่า “แสงที่ใช้ในระบบฟอกสีฟันหลาย ๆ แห่งเป็นเพียงแค่การทำให้ฟันขาดน้ำ (dehydration) ซึ่งจะทำให้ฟันขาวขึ้นชั่วคราว ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบว่าค้นไข้เหล่านี้ หลายรายมีอาการสีดีดกลับอย่างเห็นได้ชัดและในบางกรณีก็คืนสภาพไปเป็นเฉดสีเดิมก่อนการฟอกสีฟันด้วยซ้ำ นอกจากนี้การขาดน้ำอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ดังนั้นยิ่งฟันของคนไข้ขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากการสัมผัสแสงก็จะยิ่งมีอาการเสียวฟันมากขึ้น”

ข่าวดีก็คือมีทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้แสง วิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพในการทำให้ฟันขาวโดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุดต่อการเกิดอาการเสียวและการกลับคืนสภาพเดิมของสีคือการสัมผัสกับสารฟอกสีฟันที่มีความเสถียรของ pH เป็นเวลานานและได้รับการปรับให้เหมาะสมที่สุดบนผิวฟัน Opalescence ™ Boost ™ in-office whitening system ช่วยให้ฟันขาวขึ้นหลังจากนั่งอยู่บนยูนิตเพียงหนึ่งชั่วโมงโดยไม่ต้องใช้แสง เจลไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ทรงพลัง 40% ถูกกระตุ้นทางเคมีและมีความเข้มข้นของน้ำสูงเพื่อให้การปกป้องเป็นพิเศษจากการขาดน้ำและการคืนตัวของเฉดสี

Opalescence™ Boost™ in-office whitening ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์การฟอกสีฟันในที่คลินิกโดยไม่ต้องใช้แสงช่วยให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงความไวต่อความรู้สึกของการเสียวฟันที่ไม่จำเป็น

แท้จริงแล้ว Allred กล่าวว่า “เราไม่แนะนำให้ฟอกสีฟันด้วยแสงหรือเลเซอร์เพราะตลอดหลายปีของการวิจัย เราพบว่าการฟอกสีฟันที่ดีที่สุดโดยไม่ใช้แสงหรือเลเซอร์นั้นเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด และไม่ทำให้คนไข้เข้าใจผิดที่คิดแต่เพียงว่าพวกเขาต้องลงเอยด้วยผลลัพธ์แค่สีขาวเพียงเฉดเดียวเท่านั้น แล้วก็ได้รับผลกระทบรุนแรงที่ตามมาในอีกวันหรือสองวันต่อมา

ผลิตภัณฑ์ของเราเช่น Opalescence ™ Boost ™ in-office whitening, Opalescence ™ PF take-home whitening, และ Opalescence Go™ whitening trays ให้ผลลัพธ์ที่สวยงามและผลลัพธ์ที่ไม่ปลอมซึ่งเราภูมิใจที่ได้ยืนหยัดเคียงข้างทันตแพทย์ทุกท่าน”

Opalescence Whitening Product
Opalescence Whitening Product

อ้างอิง:

  1. Maran, M.M., et al (2018). In-office dental bleaching with light vs. without light: A systematic review and meta-analysis. Journal of Dentistry, 70(2018) 1-13.
  2. Bruzell, E.M., et al (2009). In vitro efficacy and risk for adverse effects of light-assisted tooth bleaching. Journal of Photochemical & Photobiological Sciences, 2009, 8, 377-385.

แชร์บทความ

Scroll to Top

คุณกำลังค้นหาอะไรอยู่?

พิมพ์คำค้นหาของคุณด้านขวา